วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันโอโซน

วันโอโซน
ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้น
โอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน
ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการ
เลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอล
ทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา
สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมาย
ถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้าวแปรรูป

ข้าวแตนน้ำแตงโม
 ส่วนผสมตัวข้าวแตน

1. ข้าวเหนียว 250 กรัม
2. เกลือป่น 1 ½ ช้อนโตะ
3. งาขาว 30-50 กรัม
4. นํ้าแตงโม 1/3 -1/2 ถ้วย
5. เกลือป่น 1-2 ช้อนชา

ส่วนผสมนํ้าตาลเคี่ยวราดหน้า

1. นํ้าตาลอ้อย 200 กรัม
2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
3. นํ้า 2-3 ช้อนโต๊ะ
4. นํ้ามะนาวเล็กน้อย
วิธีทําตัวข้าวแตน
1. ซาวข้าวเหนียวให้สะอาด ใส่เกลือ 1 ½ ช้อนโต๊ะ เคล้าให้เข้ากัน เติมนํ้าให้ท่วมข้าวเหนียว แช่ไวประมาณ
 3-4 ชั่วโมง

2. สงข้าวเหนียวขึ้น นํ าไปนึ่งในนํ้ าเดือด 25-30 นาที หรือจนกระทั่งสุก ยกลง

3. ผสมนํ้าแตงโมกับเกลือคนให้ละลาย เทใสในข้าวเหนียวที่นึ่งร้อนๆ คนให้เข้ากัน ใส่งาขาว

4. ตักข้าวเหนียวมาแผในพิมพ์กลมตามขนาดที่ต้องการอย่าใหหนาหรือบางเกินไปนําออกจากพิมพ
5. นําข้าวเหนียวที่ทําไวไปตากแดดให้แห้งสนิททั้ง 2 ด้าน (ประมาณ 1 แดด)

6. ตั้งนํ้ามันให้ร้อนจัดใชไฟปานกลาง นําข้าวแตนที่ตากแล้วลงทอด จนฟูพองพอเป็นสีนวลอ่อนๆ ตักขึ้นใหสะเด็ดนํ้ามัน
ทิ้งไว้จนเย็น จึงนําไปราดหน้าด้วยนํ้าตาลเคี่ยว

วิธีผสมนํ้าตาลเคี่ยวราดหน้า

โขลกหรือหั่น นํ้าตาลอ้อยให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ นํ้า เกลือ นํ้ามะนาว เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนเหนียวใชช้อนตักนํ้าเชื่อมที่เคี่ยวไวได้ที่แล้วโรยบนแผ่นข้าวที่ทอดไว้แล้ว พอนํ้าตาลแห้งเก็บใสภาชนะที่ปิดสนิท

ข้อแนะนํ า
1. การแผข้าวเหนียว ถ้าทําช้า ข้าวเหนียวเย็นจะแผ่ยากให้นําไปนึ่งให้ร้อนใชไฟอ่อนๆ จะแผไดงาย

2. อาจชุบช้อนหรือเอามือจุ่มนํ้ าแตงโม ในการแผ่ข้าวเหนียว จะทําให้แผ่ได้ง่ายไม่ติดมือหรือช้อน

3. ขณะทอดใช้ไม้แหลมจิ้มเขยาแผ่นข้าวเหนียวให้ทั่วจะทําใหขนมพองทั่วดี

4. ขณะโรยนํ้าตาล ให้นํานํ้ าตาลตั้งไฟอ่อนหรือใช้นํ้าร้อนหลอไว จะทําให้นํ้าตาลไม่แข็งตัวเร็วเกินไป

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ

                                            
วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
วันสำคัญที่ให้ระลึกถึงความเป็นพ่อถูกเรียกว่าวันพ่อ
ประวัติ
ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา[1] ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา
 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

         
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ  

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันสตรีไทย

ความเป็นมาของวันสตรีไทยก่อเกิดจากแนวความคิดที่ว่า ในเดือนสิงหาคมเป็นเดือน แห่ง มหามงคลสมัย ที่ปวงชน
ชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม ประดุจ
แม่ของแผ่นดิน และทางราชการได้กำหนด เป็นวันแม่แห่งชาติ องค์กรสตรีไทยทั่วประเทศได้หารือกันทั้งภาครัฐและ
เอกชน มีความประสงค์
ร่วมกันกำหนดให้มีวันสตรีไทยขึ้น ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่สตรีไทย ได้มีโอกาสร่วมกัน กำหนด วันของตนเอง เป็นการ

ผลักดันกระบวนทัศน์ ความคิด ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสตรีไทย และภูมิปัญญา ที่เป็นของตนเองให้ผนึกกันก้าวไปในแนว
ทางที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เพื่อยกระดับ สถานภาพชีวิตของสตรีไทย และร่วมกันพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้า
ของประเทศ ทุกองค์กร จึงกำหนดวันสตรีไทยขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้า จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ในส่วนภูมิภาค จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติสตรีไทยหัวใจแกร่ง ขอความร่วมมือทุกจังหวัด โดยสำนักงานพัฒนาสังคม และ สวัสดิการจังหวัด ร่วมกับองค์กรสตรีระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล องค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมกันคัดเลือกสตรีที่เป็นผู้นำ
ครอบครัว เนื่องจากสามีเสียชีวิต หย่าร้าง หรือถูกทอดทิ้ง ให้ดูแลครอบครัวตามลำพัง ประกอบอาชีพสุจริต ครอบครัวยาก
จน มีความอดทน มีมานะอุตสาหะ จังหวัดละ 5 ราย มอบเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่สตรีผู้นำ ครอบครัว
ที่ยากจน โดยขอรับเงิน สนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคม และสวัสดิการจังหวัด หรือเหล่ากาชาดจังหวัด ฯลฯ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส พระชนมายุครบ 72 พรรษา
"สตรีไทยในยุคปัจจุบัน มีความคิดที่ก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น จึงมีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ การสั่งสม ภูมิปัญญาของสตรีไทย   ที่สืบเนื่องกันมานับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน   ได้ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็น ความ ภาคภูมิใจยิ่งของชาวไทย และการที่จะธำรงความภาคภูมิใจนี้ไว้ให้ยั่งยืน ย่อมเป็นหน้าที่ของสตรีไทยทุกคน ที่จะต้องช่วยกันรักษา และเชิดชูเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไปโดยไม่ขาดสาย

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันสิ่งแวดล้อมโลก

                       
 สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" หรือ "UN Conference on the Human Environment" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้

          สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป

          ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

         เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

วันสำคัญทางศาสนา

                                     
                                         
                          ความหมายของวันมาฆบูชา
          คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3
                     

ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมพิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า
ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เมื่อถึงเวลาค่ำ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่างๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ